การวิเคราะห์ SWOT คืออะไร
SWOT เป็นหลักการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มาตั้งแต่ปี 1960 โดยจะใช้ในการประเมินสถานการณ์และวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งตรวจสอบสภาพองค์กรทั้งภายในและภายนอก โดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล 4 อย่างด้วยกันคือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
S = STRENGTH
หมายถึง จุดแข็ง
W= WEAKNESS
หมายถึง จุดอ่อน
O= OPPORTUNITY
หมายถึง โอกาศ
T= THREAT
หมายถึง อุปสรรค์
Strengths (จุดแข็ง) เป็นการพิจารณาข้อดีหรือจุดเด่นที่เกี่ยวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์ ส่วนประสมทางการตลาด (4 P’s) และปัจจัยภายในที่บริษัทสามารถควบคุมได้ และนำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่
– สินค้ามีคุณภาพดี – ความชำนาญของบุคลากร
– บรรจุภัณฑ์ทันสมัย – ความแข็งแกร่งของตราสินค้า
– เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ – ทำเลที่ตั้งของกิจการที่เหมาะสม
– มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี – ระบบตรวจสอบคุณภาพที่ทันสมัย
– ส่วนแบ่งทางการตลาดสูง – ภาพพจน์ของสินค้าและบริษัทดี
– ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ – มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง
– มีความสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
Weaknesses (จุดอ่อน) เป็นการพิจารณาข้อเสียหรือจุดด้อยหรือข้อบกพร่องที่อยู่
ภายในบริษัทและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บริษัทสามารถควบคุมได้และบริษัทจำเป็นต้อง
ปรับปรุงแก้ไข ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่
– สินค้ามีให้เลือกน้อย – ราคาสินค้าแพงกว่าคู่แข่งขัน
– รูปแบบสินค้าไม่ทันสมัย – เงินทุนไม่เพียงพอ
– กำลังการผลิตต่ำ – สายผลิตภัณฑ์สั้น
– ต้นทุนการผลิตสูง – จำนวนแรงงานไม่เพียงพอ
– ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ – ไม่มีงบประการการโฆษณา
Opportunities (โอกาส) เป็นการพิจารณาถึงข้อได้เปรียบของกิจการหรือของ
ผลิตภัณฑ์ที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อบริษัท ให้นำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างของโอกาส ได้แก่
– การแข่งขันยังมีน้อย – คู่แข่งขันเลิกกิจการ
– จำนวนผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น – การเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง
– ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล – ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค
– เศรษฐกิจมีอัตราเจริญเติบโตสูงขึ้น – มีคนกลางที่ช่วยจัดจำหน่ายมาก
– เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจ
Threats (อุปสรรค) เป็นการพิจารณาข้อเสียเปรียบ ข้อจำกัด หรือปัญหาที่อยู่ภายนอก
กิจการ และเป็นอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อบริษัท เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ตัวอย่างของข้อจำกัด ได้แก่
– ราคาของต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น – คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาด
– มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใหม่ – คู่แข่งขันทุ่มการโฆษณาสูง
– มีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ – สินค้าถูกกดราคาจากคนกลาง
– เศรษฐกิจอยู่ในขั้นตกต่ำ – ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรสนิยม
– จำนวนผู้บริโภคลดน้อยลง
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมายในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1 การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่า
ปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
3.2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
3.3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์ เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
3.3.1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (aggressive - stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
3.3.2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
3.3.3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดให้
3.3.4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือขยายขอบข่ายกิจการ (diversification strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่น ๆ แทน
ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้ 1. ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (result) ได้จริง
2. การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป
ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น
- การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง
- การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์
- การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น
- การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ
- การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่
- การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น
- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์
- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่
การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ 1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเองว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น
2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่มเป็นกรณีศึกษา
การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS) ตัวอย่างธุรกิจร้านงานด่วนในห้างสรรพสินค้า
จุดแข็ง
1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว
2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก
3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก
4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย
5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง
6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม
7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา
จุดอ่อน
1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ แต่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้ เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่
2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย
3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน
โอกาส
1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง
2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น
3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้
4. เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน
อุปสรรค
1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้ ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ
2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป
ตัวอย่างวิเคราะห์ SWOT จาก Case study
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครือ ผู้นำทางด้านธุรกิจร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ เปิดให้บริการอาหาร เบเกอรี่ และเครื่องดื่มทั้งในและต่างประเทศมาเป็นเวลากว่า 30 ปี รวมกว่า 230 สาขา โดยบริษัทได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ เอส แอนด์ พี ซึ่งแบ่งจำแนกประเภทธุรกิจเป็นร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ในประเทศ, ร้านอาหารในต่างประเทศ มีโรงงานทั้งหมด 4 แห่ง โดยแบ่งเป็นโรงงานผลิตเบเกอรี่ จำนวน 3 แห่ง และโรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง 1 แห่ง กลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทฯ แยกเป็นแต่ละแบรนด์ซึ่งจะเน้นให้ความสำคัญทางด้านผลิตภัณฑ์และด้านการบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าหลักในแต่ละแบรนด์นั้นๆ ปัจจุบันธุรกิจ S&P เป็น แบรนด์หลักซึ่งเป็นธุรกิจร้านอาหารและเบเกอรี่ที่ให้บริการแก่ครอบครัวในระดับกลาง นอกเหนือจากนี้ เอสแอนด์พี ยังมีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน บริการอาหารปิ่นโต บริการจัดเลี้ยงในนาม “Caterman” มี ร้านอาหารทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันในตลาด เช่น Bluecup Coffee , ขนมไหว้พระจันทร์มังกรทอง , และผลิตภัณฑ์ Delio ที่แพร่หลายในซุปเปอร์มาเก็ต ทั่วไป
บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ต้นทุนของวัตถุดิบหลัก และต้นทุนในการผลิต ราคาขายผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง หรือเกณฑ์ราคาขายโดยทั่วไปในตลาด อัตราผลกำไรขั้นต้นที่ต้องการสร้างจากผลิตภัณฑ์กลุ่มนั้นๆ ส่วนธุรกิจอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูง สอดคล้องกับวิถีชีวิตอันรีบเร่งของกลุ่มผู้บริโภคสมัยใหม่ในเขตเมือง แม้ว่าในปีที่ผ่านมา จะมีผู้ผลิตหลายรายเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้มากขึ้น แต่ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของบริษัทฯ ก็ยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ทั้งนี้ นอกจากความพยายามในการพัฒนาเมนูอาหารใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดแล้ว บริษัทฯ ยังได้เริ่มเน้นช่องทางการตลาดใหม่ โดยการขายให้ผู้ใช้โดยตรง ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
จุดแข็ง (Strength)
1. พนักงานมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำงาน
2. มี Empowerment คือ มีการมอบอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานในการปฏิบัติงานในระดับหนึ่ง ทำให้พนักงานมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3. รสชาติและคุณภาพของสินค้าเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า(ยี่ห้อ) S & P ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับ
5. การมีบรรจุภัณฑ์สวยงาม สามารถดึงดูดใจลูกค้า
6. ตำแหน่งร้านอยู่ในทำเลที่ดี (อยู่ด้านหน้าร้านแรก) ลูกค้ามาใช้บริการได้สะดวก
จุดอ่อน (Weakness)
1. มีปัญหาในขั้นตอนการทำกาแฟที่ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ทำให้ลูกค้ารอนาน
2. ระบบการชำระเงินเป็นการคีย์ระรหัสสินค้า ไม่มีการนำระบบ Barcode มาใช้ ซึ่งทำให้เสียเวลาในการคีย์ข้อมูล และอาจข้อผิดพลาดได้
3. พบปัญหาในด้านพนักงาน ที่ขาดมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า
4. ไม่ทราบความพึงพอใจของลูกค้า (customer feedback) หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
โอกาส (Opportunity)
1. สภาวะทางเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัวจากปีที่ผ่านๆ โดยมีอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็จัดได้ว่าประชากรมีการใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการในการขายสินค้าได้มากขึ้นด้วย
2. จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
3. กระแสการรณรงค์ให้บริโภคสินค้าไทย ภายใต้ คำขวัญ “ ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ ” เป็นการช่วยส่งเสริมการบริโภคของประชาชนให้หันมาใช้สินค้าภายในประเทศ ส่งผลดีต่อร้าน S & P ซึ่งเป็นร้านเบเกอรี่ของคนไทย
อุปสรรค(Threat)
1. การบริโภคสินค้าของประชาชนในปัจจุบัน จะมีการใส่ใจต่อสุขภาพกันค่อนข้างมาก จะมีการเลือกซื้อสินค้าที่ดีและมีประโยชน์ รวมทั้งการบริโภคของกลุ่มวัยรุ่นจะนิยมบริโภคสินค้าที่มีแครอรี่ต่ำ เพราะไม่ต้องการมีน้ำหนักที่มากเกินไป หรือไม่ต้องการอ้วนนั้นเอง ซึ่งจากสภาวะการดังกล่าวส่งผลต่อสินค้าเบเกอรี่ของร้านS & P เนื่องจากสินค้าจำพวกเบเกอรี่เหล่านี้มีปริมาณแครอรี่ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคจะซื้อในปริมาณไม่มาก เพราะกลัวอ้วน
2. คู่แข่งขันมีสินค้าที่หลากหลายและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายทำให้คู่แข่งสามารถแย่งส่วนแบ่งของกลุ่มลูกค้าจากร้านS & P เบเกอรี่ ช็อพ ได้พอส
Wal-mart ดำเนินกิจกรรมภายใต้ชื่อ War-mart และ Sam’s club เป็นร้านค้า discount store ร้านขายของราคาประหยัดมีจำนวนสาขามากถึง 3406 แห่ง และ Super center เมื่อตรวจตราการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทำกำไรสูงและมีการพัฒนาสินค้าจำนวนมาก ยกระดับให้บริการ โดยให้ระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในองค์การและพัฒนาด้านทีมงานบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รับประกันความพอใจให้กับลูกค้าและถือนโยบายด้านการตลาดคำวิจารณ์มีสะท้อนกลับต่อความคิด และเริ่มนโยบายการตลาดใหม่ เช่นการทักทายกับผู้บริโภค การตกแต่งร้านค้าให้ดูอบอุ่น รวมทั้งการให้บรรจุภัณฑ์ ที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ได้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างอันประณีตงดงามและทันสมัยในการจัดการด้านปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้ Wal-mart เป็นกิจการการที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของ Fortune
กลยุทธ์ที่ใช้กับคู่แข่งขัน
• สินค้ามีราคาถูกทุกวัน มีคุณภาพดีและมีสินค้าแบบ One Stop Shopping ซึ่งแวะที่เดียวได้สินค้าครบทุกอย่าง
• ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของลูกค้า
• มีโกดังสินค้าภายในรัศมี 6ชม.จากที่ตั้งโกดังเพื่อสะดวกและความรวดเร็วในการขนถ่ายสินค้า
• มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมระบบหมุนเวียนของสินค้า ใช้ Scanning bar code เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ Check Out ของลูกค้า และมีระบบดาวเทียมเพื่อการสื่อสารที่ทันสมัย
• รณรงค์ใช้สินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตในประเทศ
• มีการวิจัยและพัฒนา ทดสอบสินค้าใหม่ๆเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและมีคุณภาพดีกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มของ Wal-mart มีความเหมาะสมสำหรับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันมาก สำหรับองค์การขนาดใหญ่ มีพนักงานเป็นจำนวนมาก การให้บริการสินค้าหลายประเภทหลายรูปแบบและมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอคือ การให้บริการไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกัน เมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่มสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได จะสังเกตได้ว่าการทำงานเป็น Team Work เหมาะสมกับงานประเภทสร้างแรงจูงใจในการให้บริการได้ดี เช่นความสามารถในการเลือกสินค้า การค้นหาสินค้า ความเป็นกันเองกับลูกค้า หรือแนะนำบริการต่างๆ เป็นต้น เพราะงานประเภทนี้มีกลไกในการทำงานไม่ซับซ้อน แต่งานประเภทที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือมีกระบวนการที่ซับซ้อนในการทำงานหลายคนจะเกิดความผิดพลาดได้มาก เช่น การควบคุมปริมาณสินค้า หรือการชำระค่าสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Wal-mart ใช้การทำงานเป็น Team Work ควบคู่กันไปกับการสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานด้วย
กลยุทธ์ที่นำมาวิเคราะห์ SWOT เพื่อกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในองค์การ
STRENGTH (จุดแข็ง)
• สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
• สินค้ามีคุณภาพสูงและหลากหลาย
• มีส่วนแบ่งด้านการตลาดมากกว่าคู่แข่งขัน
• ชื่อเสียงของบริษัทเป็นที่รู้จักดี
• บริการที่รวดเร็วด้วยระบบคอมพิวเตอร์และดาวเทียม
• ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
• มีฐานะการเงินและสภาพคล่องที่ดี
WEAKNESS (จุดอ่อน)
• การประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยมาก
• มีหนี้สินเป็นภาระผูกพันสำหรับเช่าซื้อในระยะยาวเป็นจำนวนมากเกินไป
OPPORTUNITY (โอกาส)
• เปิดตลาดเสรีทำให้มีแนวโน้มการขยายตัวเข้าไปสู่ตลาดใหม่ได้ดีและเป็นที่นิยมและยอมรับทั่วไป
• มีการพัฒนาการบริหารและเทคโนโลยีใหม่
• สังคมให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
• ธุรกิจค้าปลีกเลิกกิจการ
THREAT (อุปสรรค)
• ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ
• มีคู่แข่งขันจำนวนมากราย
• อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมคงตัวและมีแนวโน้มลดลง
• จุดอิ่มตัวทางการตลาดของผู้บริโภค
• ถูกมองในแง่ลบเรื่องใช้แรงงานเด็กในการผลิตเพื่อลดต้นทุน
Cr. http://www.taokaemai.com/
http://www.9ddn.com/content.php?pid=520
http://www.9ddn.com/content.php?pid=519
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น